โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดต่อ ควบคุมการแพร่ระบาดของโรค

หรือเชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่ที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วและรุนแรงขึ้น
พร้อมทั้งวางแผนและหาแนวทางป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ

19 กรกฎาคม 2567

Introductory Meeting with Dr. Christine Ross iPHAC-IDC

18 กรกฎาคม 2567

การอบรม "หลักสูตรอบรมเทคนิคการแพทย์เฉพาะทางสาขาจีโนมิกส์และการแพทย์แม่นยำ" รุ่น 1 เรื่องLaboratory Practice in Molecular Virology

18 กรกฎาคม 2567

อะแคนทามีบา

เชื้ออะแคนทามีบา เป็นเชื้อโปรโตซัว ที่สามารถพบได้ตามธรรมชาติที่สามารถดำรงชีวิตได้ด้วยตัวเอง พบในสิ่งแวดล้อมเช่น ในดิน แหล่งน้ำตามธรรมชาติ ทั้งน้ำจืด น้ำเค็มและน้ำกร่อย เชื้ออะแคนทามีบา ทำให้เกิดโรคในคนจากการไปสัมผัสเชื้อโดยตรง เช่นตา หรือผิวหนังที่มีแผล ทำให้มีการอักเสบบริเวณนั้นเช่น ทำให้เกิดตาอักเสบหรือ กระจกตาอักเสบที่รุนแรง อาการกระจกตาอักเสบ จากเชื้ออะแคนทามีบา 1.ตาแดง 2.ปวดตา 3.มีขี้ตา สู้แสงไม่ได้ น้ำตาไหล 4.ถ้ารุนแรงมากอาจจะทำให้ตาบอด การรักษา 1.ปัจจุบันใช้ยาฆ่าเชื้อที่เป็นยาหยอด อาจให้ร่วมกับยากิน 2.กรณีที่เป็นโรคสมองอักเสบจากเชื้ออะแคนทามีบา ต้องรีบให้ยารักษาที่มีประสิทธิภาพ อย่างเร่งด่วนและดูแลโดยแพทย์อย่างใกล้ชิด การป้องกัน 1.ผู้ที่เล่นกีฬาทางน้ำกลางแจ้ง ควรใส่แว่นตาว่ายน้ำและถอดคอนแทคเลนส์เสมอ 2.ผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ ควรระมัดระวังการปนเปื้อนบนคอนแทคเลนส์จากน้ำที่ไม่สะอาด 3.เลี่ยงการใช้น้ำประปาล้างตา กรณีที่มีสิ่งสกปรกเข้าตา ถ้าเป็นไปได้แนะนำให้ใช้น้ำดื่มที่เป็นขวด 4.ควบคุมคุณภาพของน้ำประปาให้มีมาตรฐาน และตรวจสอบความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ

การวิจัย

ข่าวสารและกิจกรรม

อะแคนทามีบา

เชื้ออะแคนทามีบา เป็นเชื้อโปรโตซัว ที่สามารถพบได้ตามธรรมชาติที่สามารถดำรงชีวิตได้ด้วยตัวเอง พบในสิ่งแวดล้อมเช่น ในดิน แหล่งน้ำตามธรรมชาติ ทั้งน้ำจืด น้ำเค็มและน้ำกร่อย เชื้ออะแคนทามีบา ทำให้เกิดโรคในคนจากการไปสัมผัสเชื้อโดยตรง เช่นตา หรือผิวหนังที่มีแผล ทำให้มีการอักเสบบริเวณนั้นเช่น ทำให้เกิดตาอักเสบหรือ กระจกตาอักเสบที่รุนแรง อาการกระจกตาอักเสบ จากเชื้ออะแคนทามีบา 1.ตาแดง 2.ปวดตา 3.มีขี้ตา สู้แสงไม่ได้ น้ำตาไหล 4.ถ้ารุนแรงมากอาจจะทำให้ตาบอด การรักษา 1.ปัจจุบันใช้ยาฆ่าเชื้อที่เป็นยาหยอด อาจให้ร่วมกับยากิน 2.กรณีที่เป็นโรคสมองอักเสบจากเชื้ออะแคนทามีบา ต้องรีบให้ยารักษาที่มีประสิทธิภาพ อย่างเร่งด่วนและดูแลโดยแพทย์อย่างใกล้ชิด การป้องกัน 1.ผู้ที่เล่นกีฬาทางน้ำกลางแจ้ง ควรใส่แว่นตาว่ายน้ำและถอดคอนแทคเลนส์เสมอ 2.ผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ ควรระมัดระวังการปนเปื้อนบนคอนแทคเลนส์จากน้ำที่ไม่สะอาด 3.เลี่ยงการใช้น้ำประปาล้างตา กรณีที่มีสิ่งสกปรกเข้าตา ถ้าเป็นไปได้แนะนำให้ใช้น้ำดื่มที่เป็นขวด 4.ควบคุมคุณภาพของน้ำประปาให้มีมาตรฐาน และตรวจสอบความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ

โรคฝีดาษวานร

โรคฝีดาษวานรเป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นไวรัสจีนัส Orthopoxvirus ของ Family Poxviridae แพร่เชื้อโดยการ สัมผัสกับเลือด ของเหลวในร่างกาย รอยโรคผิวหนังหรือเยื่อเมือกของสัตว์ติดเชื้อ รวมทั้งการสัมผัสสารคัดหลั่งจากร่างกายของผู้ติดชื้อ ลักษณะอาการที่พบได้บ่อย 1.ระยะเวลาฟักตัว (ช่วงเวลาตั้งแต่ติดเชื้อจนถึงเริ่มแสดงอาการ) ประมาณ 5-21 วัน 2.มีอาการไข้ ปวดเมื่อยตัว ต่อมน้ำเหลืองโต 3.ระยะออกผื่น ผื่นแดง ตุ่มน้ำ ตุ่มหนอง ที่ก้น ทวาร หรือที่สำคัญ การป้องกันเบื้องต้น 1.ใช้อุปกรณ์ป้องกันระหว่างมีเพศสัมพันธ์ 2.การฉีดวัคซีน วัคซีน JYNNEOS ฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 28 วัน (มีค่าใช้จ่าย) ติดต่อ สอบถามเรื่องวัคซีนได้ที่ คลินิกนิรนาม ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย